วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566

กิจกรรมที่ 4 : พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์พุทธศักราช 2560

 

พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2560


 
Certificated
 



PDPA คืออะไร 

PDPA คือ อะไร ?
PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมา
เพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและ
นำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ และไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
 (Personal Data Protection Act: PDPA)
 คือกฎหมายใหม่ที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการถูกล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่
เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เช่น การซื้อขายข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และ
ข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม 
ที่มักพบได้มากในรูปแบบการโทรมาโฆษณา หรือล่อลวง

โดยกฎหมายนี้ได้เริ่มบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565
 เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ 
เบอร์โทรศัพท์ รูปถ่าย บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ 
ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้
 อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ
 หรือจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

PDPA มีความเป็นมาอย่างไร ?
กฎหมาย PDPA เรียกได้ว่าถอดแบบมาจากกฎหมายต้นแบบอย่างกฎหมาย 
GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป วัตถุประสงค์ของการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของ
กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีทำการแฮ็กข้อมูล
หรือละเมิดความเป็นส่วนตัวเพื่อข่มขู่หวังผลประโยชน์จากทั้งจากตัวเจ้าของ
ข้อมูลเองหรือจากบุคคลที่ดูแลข้อมูล

PDPA สำคัญอย่างไร ?
ความสำคัญของ PDPA คือการทำให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในข้อมูลส่วนตัว
ที่ถูกจัดเก็บไปแล้วหรือกำลังจะถูกจัดเก็บมากขึ้น
 เพื่อสร้างความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้แก่เจ้าของข้อมูล
 โดยมีสิทธิที่สำคัญคือ สิทธิการรับทราบและยิมยอมการเก็บข้อมูลส่วนตัว 
และสิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว คัดค้านและเพิกถอนการเก็บและนำข้อมูลไปใช้
 และสิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนตัว

สิทธิที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของข้อมูล ทำให้ผู้ประกอบการขององค์กรและบริษัทต่าง ๆ 
ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเก็บรวบรวมและนำข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของ
ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พนักงานในองค์กร หรือบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องให้
เป็นไปตามหลักปฏิบัติของ PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โดยหากคุณเป็นผู้ประกอบการ หรือเป็นตัวแทนองค์กรที่ดำเนินการเรื่อง PDPA 
วันนี้เราจะช่วยคุณเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย PDPA กัน

หากคุณต้องการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล นำข้อมูลไปใช้ 
รวมถึงการเก็บรักษาและดูแลความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคคลของลูกค้า
และบุคคลที่เกี่ยวข้อง คุณจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้โดยด่วน
 เพราะในขณะนี้ประเทศไทยได้เริ่มบังคับใช้ พ.ร.บ. PDPA แล้ว 
หากคุณไม่ดำเนินการตามหลักของ PDPA คุณอาจต้องรับโทษร้ายแรง
ทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครอง

องค์ประกอบสำคัญของ PDPA
บุคคลที่ต้องปฎิบัติตามกฎหมาย PDPA ประกอบด้วย เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
 (Data Subject) และผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)
 โดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเปรียบเสมือนผู้ดูแลระบบ เป็นฝ่ายปฏิบัติงาน
 มีหน้าที่เก็บรวบรวม และนำข้อมูลส่วนบุคคลที่ขอความยินยอม (Consent) 
จากเจ้าของข้อมูลไปใช้ ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ขายของออนไลน์
 ตัวผู้จัดทำเว็บไซต์ก็จะต้องขอข้อมูลทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลการจ่ายเงิน
 เพื่อนำไปดำเนินการสั่งซื้อและจัดส่งสินค้าไปยังที่อยู่ของเจ้าของข้อมูล
 ซึ่ง PDPA เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็ต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลด้วย

Cr:https://pdpa.pro/blogs/in-summary-what-is-pdpa

ศึกษาเพิ่มเติม




กิจกรรมที่่ 3 : What is the Blog



What is the Blog?


Blog คืออะไร?
 
: บล็อก (Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียน
ไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน 

ความหมายของ Blog

: คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) 
ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web) นั่นเอง

ผู้เขียน Blog 

: โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger)

จุดเด่นของ Blog

: จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถ
แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ 

Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

: ทำBlog เป็นเว็บไซด์ส่วนตัว เพื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นๆ เช่น บันทึกไดอารี่
เขียนBlog เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ  เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่น
สร้างBlog ทำเป็นเว็บไซด์เพื่อใช้ในการโปรโมทธุรกิจ ร้านค้า บริการต่างๆ
ใช้Blog ในการทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce)

Blog กับ Website ต่างกันอย่างไร?

: Blog นั้นเราสามารถสมัครใช้ได้แบบฟรี แต่เราต้องใช้ Domain ของผู้ให้บริการ 
Blog มีการดีไซน์ที่มีลักษณะโครงสร้างที่ตายตัว ปรับเปลี่ยนไม่ได้เท่าเว็บไซด์ 
การสร้างเว็บไซด์ จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากพอสมควร ทั้งในส่วนของภาษาคอมพิวเตอร์, โปรแกรมคอมติวเตอร์ต่างๆ ความรู้เบื้องต้นในเรื่องของ Network เป็นต้น แต่ Blog ใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น


ทำไม เราต้องเล่าเรื่องราวของเราผ่าน Blog ?

: Blog เป็นเครื่องมือสร้างตัวตนเพราะว่า ผู้คนกำลังรับรู้ได้ว่าเรากำลังทำอะไร เราสร้างคุณค่าอะไรให้เขา แล้วเขาจะสนับสนุนเราดีไหม คนที่มาสนับสนุนเรามาติดตาม Blog ยิ่งเรามีติดตามมากก็จะเป็นตัวที่จะทำให้เราสามารถสร้างรายได้ได้มากขึ้น 

ทำ Blog เรื่องอะไรดี?

: เรื่องที่เราควรเลือกมาทำ Blog ควรเป็นเรื่องที่เราสามารถอยู่กับมันได้นานๆ คือ เราสามารถอยู่กับสิ่งไหนได้นานที่สุดและไม่รู้สึกเบื่อ อาจมีบางสิ่งที่เราคิดว่าชอบ แต่เมื่อลองทำจริงๆแล้ว เรากลับอยู่กับมันได้ไม่นาน วิธีพิสูจน์ง่ายๆก็แค่ลองทำสิ่งนั้นๆต่อเนื่องกันนานๆแล้วเรารู้สึกว่าเบื่อไหมนั่นเอง อีกเหตุผลที่ควรเลือกเรื่องมาทำ Blog คือ สิ่งนั้นๆที่เราจะเขียนจะสามารมอบอะไรให้กับผู้อ่าน ผู้อ่านๆแล้วเขาได้ประโยชน์อะไร

สร้างรายได้เสริมจาก Blog ได้อย่างไร ?

: Google Adsense คือการ เอาป้ายโฆษณามาติดที่เว็บเรา
Sponsored Posts คือ การที่มีสปอนเซอร์ จ้าง Blogger หรือ ผู้เขียน Blog ลงบทความ
Review คือ การที่มี สินค้า หรือ แบรนด์ ส่งของมาให้ เรารีวิวพร้อมจ่ายค่าตอบแทน
Consultant คือ การให้คำปรึกษา หรือแก้ปัญหาในเรื่องที่เราถนัด

สร้าง Blog ฟรี ควรเริ่มที่ไหนดี ?

: หากจะเริ่มเขียนบล็อกแล้วไม่รู้จะเริ่มที่เว็บไหนดีขอแนะนำ Blogger 
เพราะเริ่มต้นได้ง่ายมากโฟกัสการเขียนได้ดีและเชื่อมกับ Google Adsense ง่าย

สมัครใช้งาน Blogger ทำอย่างไร?

การสมัครใช้งาน Blogger นั้นง่ายนิดเดียว อันดับแรกเราต้องมี gmail ก่อน จากนั้นให้ทำการ login gmail แล้วทำการเพิ่ม tab โดยการคลิกเครื่องหมายบวกตรง Tab Bar

login เข้า gmail เพื่อสมัครใช้งาน blogger

แล้วพิมพ์คำว่า Blogspot.com ในช่องค้นหา แล้วกด enter ก็จะเข้าสู่ Platform ของ Blogger 

พิมพ์คำว่า Blogspot.com ในช่องค้นหา

จากนั้นให้เราลงชื่อเข้าใช้ หรือ login ซึ่งระบบจะทำการ login ให้เราอัตโนมัติ

login gmail เพื่อเข้าใช้งาน blogger

คลิกที่ gmail ของเราที่จะใช้ในการสร้าง Blog จากนั้นให้ป้อนรหัสผ่าน และกดปุ่มถัดไป

คลิกที่ gmail ของเราที่จะใช้ในการสร้าง Blog จากนั้นให้ป้อนรหัสผ่าน และกดปุ่มถัดไป

ทำการสร้างโปรไฟล์ของเรา ในช่องชื่อที่แสดง ให้ใส่ชื่อ Blog ที่เราต้องการให้คนอื่นเห็น 

แล้วคลิกที่ปุ่ม ดำเนินการต่อไปยัง Blogger

ในช่องชื่อที่แสดง ให้ใส่ชื่อ Blog ที่เราต้องการให้คนอื่นเห็น แล้วคลิกที่ปุ่ม ดำเนินการต่อไปยัง Blogger

จากนั้นก็จะปรากฏหน้าต่างทำงานของ Blogger ให้เรากดที่ปุ่ม สร้างบล็อคใหม่

จากนั้นก็จะปรากฏหน้าต่างทำงานของ Blogger ให้เรากดที่ปุ่ม สร้างบล็อคใหม่

ต่อมาใส่หัวข้อของ Blog ว่าบล็อคของเราจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร 

ในช่องที่อยู่ก็ให้เราใส่ว่าจะใช้ URL เป็นอะไร หากเราพิมพ์แล้วปรากฏเครื่องหมายตกใจ

แสดงว่า URL นี้ใช้ไม่ได้ แต่ถ้าขึ้นเครื่องหมายถูกแสดงว่า URL นี้ใช้ได้ จากนั้นทำการเลือกธีม

 หรือ Template ที่เราชอบ และกดปุ่ม สร้างบล็อค

ใส่หัวข้อของ blog

จากนั้นก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาว่าสนใจจะซื้อโดเมนไหม? เรายังไม่ต้องซื้อ

 ให้ใช้ของฟรีไปก่อน ให้กดที่ปุ่ม ไม่เป็นไร

โดเมนสำหรับ blogger

การตั้งค่า Blogger เพื่อเขียนบทความทำอย่างไร?

เราก็จะมาเข้าสู่หลังบ้านของ Blogger เพื่อที่จะเขียนบทความได้แล้ว 

ก่อนอื่นเราต้องไปจัดการตั้งค่าต่างๆที่จำเป็นให้เรียบร้อยก่อน 

โดยไปคลิกที่เมนูการตั้งค่า หรือ setting(รูปเฟือง) ให้ไปที่ภาษา และการจัดรูปแบบ

 ให้เลือกเป็นภาษาไทย โซนเวลา ให้เลือกกรุงเทพ จากนั้นกดปุ่มบันทึกการตั้งค่า

การตั้งค่า Blogger เพื่อเขียนบทความ

เริ่มต้นเขียนบทความใน Blogger ได้อย่างไร?

เราสามารถเริ่มต้นเขียนบทความใน Blogger ได้โดยไปคลิกที่เมนูบทความ 

กดที่ปุ่มเขียนบทความใหม่

เริ่มต้นเขียนบทความใน Blogger ได้โดยไปคลิกที่เมนูบทความ กดที่ปุ่มเขียนบทความใหม่

จากนั้นใส่ชื่อโพสต์ หรือชื่อบทความในช่องโพสต์ ชื่อบทความนี้ ควรตั้งให้น่าสนใจ
 และต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เราจะเขียน จากนั้นก็เริ่มพิมพ์เนื้อหาได้เลยครับ 
เรายังสามารถใส่ภาพนิ่ง หรือวิดีโอได้อีกด้วย ภาพที่เราใส่ก็สามารถปรับให้มีขนาดเล็ก
 ปานกลาง ใหญ่ ใหญ่พิเศษ หรือจะเป็นขนาดเท่าเดิม ก็ได้เหมือนกัน
ตำแหน่งของภาพก็ปรับได้ว่าจะให้ภาพนั้นวางชิดซ้าย วางกึ่งกลาง
 หรือจะวางชิดขวา และยังสามารถเพิ่มคำอธิบายภาพที่ใต้ภาพได้อีกด้วย
 ลองปรับเล่นดูนะครับ เมื่อใส่ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วเราสามารถกดปุ่มแสดงตัวอย่าง
 เพื่อดูสิ่งที่เราได้สร้างไว้ว่าเมื่อคนอื่นมาดูจะเห็นเป็นแบบไหน
 หากยังไม่ต้องการเผยแพร่ก็ให้กดบันทึกไว้ก่อน และกดปุ่มเผยแพร่เมื่อต้องการครับ

เริ่มต้นเขียน blog

หน้าตาของบทความที่เราได้สร้างไว้ในบล็อคจะเป็นแบบไหนให้ไปคลิกที่ เมนูดูบล็อค

หน้าตาของบทความที่เราได้สร้างไว้ในบล็อคจะเป็นแบบไหนให้ไปคลิกที่ เมนูดูบล็อค

ก็จะปรากฏหน้าตาของบทความที่เราได้ทำไว้ 

เรายังสามารถแก้ไขบทความได้โดยการไปคลิกที่ดินสอ

หน้าตาของบทความที่เราได้ทำไว้ใน blogger
ดูคลิปเพิ่มเติมที่

วิธีตกแต่ง Blog โดยใช้ ธีม และ Gadget ทำอย่างไร?

รู้จักเครื่องมือต่างๆ ใน blogger

หมายเลข 1 เป็นการปรับขนาดของตัวหนังสือ โดยมีให้เลือกปรับเป็นแบบ 
เล็กที่สุด เล็ก ปกติ ใหญ่ และใหญ่ที่สุด
หมายเลข 2 หัวข้อ สามารถกำหนดให้ส่วนใดเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย
 ส่วนย่อย หรือจะเป็นเนื้อหาปกติ ได้

การกำหนดหัวข้อใน blogger

หมายเลข 3 ตัวหนังสือหนา
หมายเลข 4 ตัวหนังสือเอียง
หมายเลข 5 ขีดเส้นใต้ตัวหนังสือ
หมายเลข 6 ขีดฆ่าตัวหนังสือ
หมายเลข 7 เปลี่ยนสีตัวหนังสือ
หมายเลข 8 ไฮไลท์ตัวหนังสือ
หมายเลข 9 ใส่ภาพ และสามารถปรับขนาดภาพ จัดตำแหน่งของภาพ 
และใส่คำอธิบายได้อีกด้วย
หมายเลข 10 ใส่วิดีโอ การใส่วิดีโอใน Blogger นั้น สามารถใช้วิธีการอัปโหลดวิดีโอเลย
 หรือว่าดึงมาจากยูทูปก็ได้ แนะนำว่าเราควรนำวิดีโอไปใส่ไว้ในยูทูปก่อนแล้วค่อยดึงมา 
เพราะเราจะได้คนดูจากสองทางเลยครับ หากนำวิดีโอเข้ามาแล้ว
ต้องการลบก็แค่คลิกที่วิดีโอแล้วกดปุ่ม backspace

การ upload วิดีโอใน blogger

หมายเลข 11 การใส่สัญลักษณ์ ตรงรูปหน้ายิ้มจะเป็นการใส่สัญลักษณ์ต่างๆ

 ซึ่งมีหมวดหมู่ต่างๆให้เราเลือกใช้

symbol blogger

หมายเลข 12 จัดหน้ากระดาษ เช่น จัดให้ตัวหนังสืออยู่ตรงกลาง
 ซ้าย ขวา เป็นต้น
หมายเลข 13 List คือ การทำให้เป็นข้อๆ

การสร้าง list ใน blogger

หมายเลข 14 Bullet เป็นการใช้เครื่องหมายวางไว้หน้าข้อความ

 หรือหัวข้อเพื่อให้ดูเด่นขึ้น

การสร้าง bullet ใน blogger

หมายเลข 15 Quote คือ คำคม ถ้าต้องการให้เนื้อหาตรงไหนเป็นคำคม 

ก็ให้ทำไฮไลท์ตรงนั้น แล้วไปคลิกเลือกที่ Quote

การใช้งาน quote ใน blogger

หมายเลข 16 ป้ายกำกับ หรือ Tag เป็นการใส่คำสำคัญที่เกี่ยวกับบทความนั้นๆ

การใส่ป้ายกำกับหรือ tag ใน blogger

หมายเลข 17 กำหนดเวลา หมายถึง จะให้บทความนี้เผยแพร่ตอนนี้เลย 

หรือจะตั้งเวลาให้เผยแพร่เมื่อไหร่

กำหนดเวลาเผยแพร่บทความใน Blogger

หมายเลข 18 ลิงค์ของบทความ จะใช้แบบที่ทาง blogger ทำให้

 หรือสร้างเองก็ได้เพื่อให้ดูสั้นลง ทำเสร็จแล้วอย่าลืมกดปุ่ม เสร็จสิ้น 

และกดบันทึก นะครับ

ลิงค์ของบทความใน blogger

หมายเลข 19 ตำแหน่งที่ตั้งของ blogger

การใส่ตำแหน่งที่ตั้งของ blogger

หมายเลข 20 ตัวเลือก เป็นการตั้งค่าว่าจะให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้หรือไม่

 โหมดเขียน ก็ให้เลือก แสดง HTML โดยตรง หลังจากตั้งค่าเสร็จแล้วก็ให้กดปุ่ม

 เสร็จสิ้น และอย่าลืมกดปุ่มบันทึก

การเลือก และจัดการธีม ใน Blogger ทำอย่างไร

การเลือกธีมใน blogger

คลิกที่เมนูรูปแบบ ให้เพิ่ม Gadget ซึ่งเราสามารถเพิ่มได้หลายแบบ Gadget 

ก็เหมือน widget ใน wordpress

การเพิ่ม gadget ใน blogger

เราจะลองเพิ่ม gadget ตัวที่เป็นหน้าเวบดูก่อนนะครับว่ามันเป็นอย่างไร 

ให้กดที่เครื่องหมายบวกเพื่อเพิ่มได้เลย

การเพิ่ม gadget ใน blogger

เมื่อเพิ่มเข้ามาแล้วเราก็ตั้งชื่อ หรือจะไม่ใส่ก็ได้ เลือกว่าจะเพิ่มหน้าไหนบ้าง 

และเราสามารถจัดวางตำแหน่งได้ตามที่ต้องการ เพียงลากแล้วนำไปวางสลับ

ตำแหน่งไปมา แล้วกดปุ่มบันทึก

การใช้ gadget ใน blogger

gadget ที่เราได้เลือกไว้จะออกมาเป็นแบบภาพด้านล่างนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นหน้าตาของ

 gadget ของเราจะออกมาเป็นแบบไหน ขึ้นอยู่กับธีมที่เราเลือกใช้ด้วยครับ Gadget 

บางอย่างที่เราเลือกอาจไม่ปรากฏบนหน้าบล็อค เพราะธีมนั้นๆอาจไม่รองรับก็เป็นได้

 ดังนั้นผมแนะนำว่าให้เราลองเลือกธีม และดูหน้าตาของบล็อคเราว่าธีมไหนเหมาะ

กับบล็อคของเรา ลองใช้เวลากับตรงนี้ดูนะครับ เพราะธีมบางธีมก็มีลูกเล่นให้เราลองเล่นมากมาย 

ให้ลองเลือก และลองเล่นดูนะครับ และทุกครั้งที่เปลี่ยนแปลงอย่าลืมกดบันทึกด้วยนะครับ

การใช้ gadget ใน blogger

เราลองมาเปลี่ยนไปใช้เป็นธีมอื่นกันบ้างไหม ลองเลือกธีมที่มี sidebar 

แล้วจัดเรียงตามใจชอบ มันก็จะออกมาเป็นภาพด้านล่างนี้ อย่างที่บอกให้ลองเลือกใช้ธีมดูนะครับ

 แล้วลองดูผลที่ได้ว่าเหมาะสม หรือไม่อย่างไร

ธีมที่มี sidebar ใน blogger

ธีมที่เราเลือกไว้ก็ยังสามารถปรับแต่งเพิ่มเติม เพื่อเพื่อความสวยงามได้อีก

 โดยให้ไปคลิกที่ธีม แล้วคลิกที่ปุ่มปรับแต่ง

การปรับแต่งธีมใน blogger

เราสามารถปรับแต่งพื้นหลัง หรือ Background ให้สวยงามตามใจเราได้ 

โดยไปคลิกที่พื้นหลัง จากนั้นคลิกที่ภาพพื้นหลัง แล้วมาเลือกภาพพื้นหลัง จากนั้นกดปุ่มเสร็จสิ้น

การใส่ background ใน blogger

และเรายังสามารถเลือกสี background ให้กับธีมได้อีกด้วย ลองเล่นดูนะครับ

การเปลี่ยนสีให้กับธีมใน blogger

และเรายังสามารถปรับความกว้างของหน้า blog เราได้ด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับธีมที่เลือกใช้ด้วย 

บางธีมอาจรองรับ หรือบางธีมอาจไม่รองรับ

ปรับความกว้างของหน้า blog ใน blogger

เรายังสามารถจัดรูปแบบของเนื้อหาใน blog เราได้ โดยการคลิกที่ รูปแบบ

 ก็จะปรากฏรูปแบบต่างๆขึ้นมาให้เราเลือกใช้งาน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธีมที่เราใช้ด้วย

การเลือกรูปแบบของเนื้อความใน blogger

เรายังสามารถปรับแต่งขั้นสูงได้อีก เช่น การปรับแต่งสีในส่วนต่างๆของเวบ

 ไม่ว่าจะเป็นหน้าเวบ ต้องการให้สีของตัวอักษร สีของพื้นหลังเป็นสีอะไร การปรับแต่งในส่วนหัว

 การปรับแต่งแถบส่วนหัว การปรับแต่งสีลิงค์ต่างๆ เป็นต้น ลองไล่เล่นดูนะครับ

 และเมื่อปรับจนเป็นที่พอใจแล้วให้คลิกที่ปุ่ม ใช้กับบล็อค ด้านบนขวาด้วยนะครับ

การปรับแต่ง blog ขั้นสูงใน blogger

หลังจากที่คลิกปุ่ม ใช้กับบล็อค เรียบร้อย เราก็มาดูบล็อคที่เราสร้างไว้กันสักหน่อย 

โดยให้ไปคลิกที่ ดูบล็อค

ดูบล็อคใน blogger
Blog ที่สร้างไว้หน้าตาเป็นแบบนี้
ดูคลิปเพิ่มเติมที่

เงื่อนไขการเปิด Adsense ใน Blogger การนับจำนวนคนดู และ การจัดการ Comments

หากเราเป็นแอดมิน หรือเป็นเจ้าของ blog เราสามารถลบ comments ต่างๆ 

ที่ไม่ต้องการได้ โดยให้ไปที่หลังบ้าน แล้วคลิกที่เมนูความคิดเห็น จากนั้นคลิกที่เผยแพร่แล้ว

 และเลือกลบความคิดเห็นที่ไม่ต้องการ

การลบ comment ใน blogger

เมื่อสร้าง blog มาแล้ว ในฐานะเจ้าของ blog เราก็อยากรู้ว่ามีคนเข้ามาดู blog 

ของเรากี่คน ก็สามารถทำได้ โดยให้เข้าไปหลังบ้าน และไปคลิกที่ สถิติ 

สามารถเลือกดูสถิติเป็นแบบวัน สัปดาห์ เดือน หรือทุกช่วงเวลาตั้งแต่ทำมา 

สามารถดูได้ว่าแต่ละบทความมีคนเข้ามาดูกี่คน ผู้ชมมาจากประเทศไหน 

ผู้ชมเข้ามาดูเวบเราทางบราวเซอร์ไหน เช่น จาก chrome หรือมาจาก safari  

สถิติคนเข้ามาดู blog ใน blogger

มาถึงเรื่องของการสร้างรายได้ที่ทุกคนรอคอย ก่อนอื่นเราต้องไปสมัคร
 AdSense เสียก่อน ให้ไปคลิกที่เมนู รายได้ ถ้าบล็อคของเราเป็นบล็อคใหม่ 
ยังมีบทความน้อย มันจะมีข้อความขึ้นมาว่า บล็อคของคุณมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนในการสมัคร AdSense ก็ไม่ต้องเสียใจนะครับ เราแค่ขยันให้มากขึ้น และตั้งใจเขียนบทความที่
มีคุณภาพให้มากขึ้น เดี๋ยวเราก็จะสามารถสมัคร AdSense ได้เอง

ทีนี้เพื่อให้ทำอย่างมีแนวทาง เราก็ลองคลิกเข้าไปดูที่บรรทัดต่อมา 
ตรงคุณสมบัติตามเกณฑ์ของ AdSense เพื่อให้รู้ว่า AdSense มีข้อกำหนดอะไรบ้าง 
ที่จะสามารถทำให้คุณ สามารถสมัครเพื่อสร้างรายได้ได้ เช่น บล็อคของคุณมีเนื้อหาที่น่าสนใจ
และไม่ซ้ำใครไหม? , เนื้อหาของคุณเป็นไปตามนโยบายโปรแกรม AdSense ไหม?
 เช่น เนื้อหาต้องไม่ผิดกฏหมาย เนื้อหาต้องไม่ไปก้อปปี้ใครมา เนื้อหาต้องมีปริมาณระดับหนึ่ง
 แต่ละบทความก็ต้องมีความยาวประมาณหนึ่ง , คุณมีอายุ 18 ปี ใช่ไหม? เป็นต้น 
และที่สำคัญคือ blog ของเราต้องทำมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน

และถ้าวันหนึ่งถึงเวลาที่เราสามารถสมัคร AdSense ได้ และสมัครผ่านแล้ว สิ่งที่เราจะได้คือ

 บล็อคของเราจะสามารถติดตั้งโฆษณา ได้ โดยการติดตั้งระบบผ่าน  AdSense 



สามารถใช้งาน Blogger ผ่านมือถือ และ Tablet ได้อย่างไร

 : เราสามารถใช้งาน Blogger ได้ผ่านทางมือถือ และ Tablet
 ทั้งระบบ IOS และ Androi เพียงติดตั้งแอพ Blogger ลงในอุปกรณ์ของเรา 
หลังจากติดตั้งแอพเสร็จแล้ว เราก็ login เข้าไปได้เลย

 ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

กิจกรรมที่ 4 : พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์พุทธศักราช 2560

  พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2560 พรบ.คอมพิวเตอร์ 2560 from qnlivyatan   Certificated   PDPA คืออะไร  PDPA คือ อะไร ? PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ...